ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
บ้านนาฝางแต่เดิมเป็นพื้นที่ป่าละเมาะบริเวณเชิงเขาเป็นสถานที่เลี้ยงสัตว์ และทำไร่เลื่อนลอย และมีที่พักของผู้ที่มาเลี้ยงสัตว์ และทำไร่ ซึ่งภาษาพื้นเมืองเรียกที่พักชั่วคราวว่า “ป๋าง" ต่อมาเมื่อมีผู้มาพักอาศัยมากขึ้น ที่พักชั่วคราวเริ่มกลายเป็นที่พักถาวรสำหรับตั้งถิ่นที่อยู่ และรวมกันเป็นหมู่บ้าน จึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านนาฝาง
ข้อมูลประชากร
ประชากรรวมทั้งสิ้น 620 คน แยกเป็นชาย 309 คน หญิง 311 คน ผู้สูงอายุ ( 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ) จำนวน 81 คน
ผู้พิการ 33 คน
ที่ตั้ง
บ้านนาฝาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่ราบ สภาพทางภูมิอากาศมี 3 ฤดู ร้อน ฝน หนาว
ลักษณะภูมิประเทศ
ทิศเหนือ ติดกับ เขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
ทิศใต้ ติดกับ บ้านดอนสถาน หมู่ที่ 4 ตำบลสถาน
ทิศตะวันออก ติดกับ เขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
ทิศตะวันตก ติดกัน บ้านห้วยหล้า หมู่ที่ 5 ตำบลสถาน
ลักษณะของประชากรหรือลักษณะทั่วไป
- เนื้อที่ 1,250 ไร่ ใช้ทำการเกษตร 850 ไร่
- จำนวนครัวเรือน 147 ครัวเรือน
- จำนวนประชากรทั้งหมด 571 คน (ชาย 277 คน หญิง 294 คน)
- รายได้เฉลี่ย 27,876 บาท/คน/ปี
- ครัวเรือนมีการออมร้อยละ 80 ของครัวเรือนทั้งหมด
- ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรม ใช้เนื้อที่ 850 ไร่
- ผลผลิตที่จำหน่ายสู่ตลาดภายในและภายนอกชุมชนได้แก่ ถั่ว ยาสูบ พืชผัก
- ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน มีเส้นทางคมนาคมในการขนส่งใช้ได้ตลอดปี
สภาพทางสังคม
- ครัวเรือนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ
- สภาพบ้านเรือน มีความคงทนถาวร มีการจัดบ้านเรือนเป็นระเบียบ
- ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพดี คนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพ ประจำปี
- เด็กและเยาวชน ได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน ประชาชนที่มีอายุ 15 –60 ปี
- อ่านออกเขียนได้ เป็นส่วนใหญ่
- ผู้สูงอายุและคนพิการได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
- ครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มที่ตั้งขึ้นในหมู่บ้าน และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของชุมชน มีการเรียนรู้ของชุมชนและมีภูมิปัญญา หรือ ปราชญ์ชาวบ้านเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับหมู่บ้าน
ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของหมู่บ้าน
ผลผลิตทางด้านการเกษตร เช่น พืชตระกูลถั่ว ยาสูบ พริก
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของหมู่บ้าน
ผลผลิตทางด้านการเกษตร การจักสาน
ศิลปวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาของหมู่บ้าน
ชุมชนมีการเรียนรู้ จากปราชญ์ชาวบ้าน เช่น การจักสาน การทำบายศรี การทอผ้า การเขียนตัวอักษรเมือง
การคมนาคม
บ้านนาฝางห่างจากที่ว่าการอำเภอปัว ไปทางทิศเหนือ ตามทาง ปัว - สกาด
ประเพณี/เทศกาลประจำปี
ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ เป็นประเพณีที่ชาวบ้านสืบทอดกันมาแต่โบราณ การสู่ขวัญมักกระทำ ในโอกาสต่าง ๆ เช่น เมื่อไม่สบาย เมื่อ
ได้รับโชคหรือมีโชค ได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง การเดินทางโยกย้าย ที่อยู่ ย้ายที่ทำงาน สู่ขวัญแขกบ้านเรือน ที่มาเยี่ยมเยียน
หมู่บ้าน สู่ขวัญผู้มาร่วมงานผ้าป่า ทอดกฐิน สู่ขวัญนาค
ประเพณีสงกรานต์ ในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี จะไปสรงน้ำพระ ที่วัด
มีการก่อเจดีย์ทราย คือการขนทรายเข้าวัด ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
ทักษะฝืมือแรงงานของหมู่บ้าน
ครัวเรือนส่วนใหญ่มีทักษะด้านการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์