<!--[endif]-->
บ้านส้านหนึ่ง หมู่ 13
ประวัติความเป็นมา
บ้านส้านหนึ่ง แยกมาจากบ้านส้าน หมู่ ๒ ตามประกาศจังหวัดน่าน และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท
๐๓๑๑.๑/ว ๑๙๒๔ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ประกาศเมื่อ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๔ เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านครั้งแรกเมื่อ วันที่
๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ได้นายวสันต์ ยาปัน เป็นผู้ใหญ่จนถึง ปี ๒๕๕๔ ครบวาระและได้เลือกผู้ใหญ่บ้านคนที่สองเมื่อ วันที่ ๑๓
ตุลาคม ๒๕๕๔ ได้นายสมพร ยาปันเป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน
การปกครอง แบบคณะกรรมการ (กม.)
แบ่งเป็น ๔ หมวด
ลักษณะภูมิประเทศ
บ้านส้านหนึ่ง มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม
ทิศเหนือ ติดกับ ลำน้ำปัว
ทิศใต้ ติดกับ บ้านส้าน หมู่ ๒
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านดอนสถาน หมู่ ๔
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านนาป่าน หมู่ ๑
ลักษณะภูมิอากาศ
มี ๓ ฤดู ร้อน หนาว ฝน
ด้านศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ ซึ่งมี วัดส้าน เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน
จำนวนครัวเรือน
ที่มีอยู่จริง ๑๖๔ ครัวเรือน
ประชากรทั้งหมด ๕๓๕ คน ณ มกราคม ๒๕๕๖
ชาย ๒๗๖ คน หญิง ๒๕๙ คน
ผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ๘๒ คน
ผู้พิการ ๑๓ คน
การประกอบอาชีพ
เกษตรกร ๑๔๗ ครัวเรือน
ค้าขาย ๒๔ ครัวเรือน
ช่าง ๖ ครัวเรือน
ข้าราชการ ๙ ครัวเรือน
อุตสาหกรรมในครัวเรือน ๔ ครัวเรือน
รับจ้าง/บริการ ๑๕ ครัวเรือน
กลุ่มกิจกรรม
กลุ่มออมทรัพย์ (พ่อบ้าน)
กลุ่มออมทรัพย์ (แม่บ้าน)
กลุ่มทำแหนมเห็ด
กลุ่มแปรรูปพริก
กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ (บ้านส้าน)
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเยาวชน
กองทุนในหมู่บ้าน
กองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน)
กองทุนออมทรัพย์ (พ่อบ้าน,แม่บ้าน)
กองทุนรวมพัฒนาหมู่บ้าน
กองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน
วัฒนธรรมประเพณี
ทำบุญขึ้นปีใหม่ – เลี้ยงผี ปู่ ย่า – สงกรานต์ – รดน้ำดำหัว – สูมาคารวะบายศรีสู่ขวัญ – ลงแขกเพาะกล้า ดำนา เกี่ยวข้าว –
ตานตุง –สู่ขวัญข้าว – ทานสลากภัตร – ตานก๋องหลัว – ตานข้าวใหม่ - ทุกวันสำคัญของชาติและทุกวันสำคัญทางศาสนา
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ทำยาสมุนไพร - ทอผ้า - ทำบายศรี - ช่างไม้ - จักสาน - อักษรล้านนา - แปรรูปอาหาร
ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้าน
แหนมเห็ด - แคบหมู - พริกป่น – พริกแกง
สภาพทางสังคม
สภาพบ้านเรือนมีความมั่นคง มีการจัดบ้านเรือนให้ถูกสุขลักษณะ ครอบครัวมีความอบอุ่น ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพดีเด็กและ
เยาวชนได้รับการศึกษาทุกคน ประชาชนอายุ ๑๕ – ๖๐ ปี อ่านออกเขียนได้เป็นส่วนใหญ่ ผู้สูงอายุและคนพิการได้รับการดูแล
จากภาครัฐและชุมชนตามสมควรประชาชนส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มที่ตั้งขึ้นในหมู่บ้าน และทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิด
เห็น เพื่อประโยชน์ของชุมชน มีศูนย์เรียนรู้ในชุมชนมีภูมิปัญญาชาวบ้าน มีอัตลักษณ์ และวิถีถิ่นที่ดีงาม